ถาม-ตอบ

การเงิน

เงินฝากสหกรณ์มีกี่ประเภท

3 ประเภท

  1. ประเภทออมทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.50 ต่อปี ถอนได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  2. ประเภทออมทรัพย์พิเศษ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.00 ต่อปี ถอนได้ 1 ครั้งต่อเดือน ถอนมากกว่า 1 ครั้ง จะมีค่าธรรมเนียมปรับ
  3. ประเภทประจำ 12 เดือน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.75 ต่อปี เงินฝากประจำ มีหักภาษี 15 % ต้องฝากครบระยะเวลา 12 เดือน ถึงจะได้รับดอกเบี้ยที่กำหนด
เปิดบัญชีเงินฝากสหกรณ์ต้องทำอย่างไร / เอกสารที่ใช้ในการเปิดบัญชีมีอะไรบ้าง

ติดต่อด้วยตนเอง โดยกรอกเอกสารการเปิดบัญชีที่สหกรณ์ เอกสารที่ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

ปิดบัญชีเงินฝากสหกรณ์ จะต้องทำอย่างไร / ไม่ต้องไปติดต่อด้วยตนเองที่สหกรณ์ได้หรือไม่

ติดต่อด้วยตนเอง โดยกรอกใบถอนเงินฝากเพื่อปิดบัญชีที่สหกรณ์ พร้อมเอกสารดังนี้

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบัญชีพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง 
  2. สมุดบัญชีเงินฝากของสหกรณ์
  3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทยของเจ้าของบัญชี (กรณีรับเป็นเงินโอนเข้าบัญชีธนาคาร)
    ถอนเงินฝากสหกรณ์โอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยของสมาชิกเท่านั้น
เงินฝากสหกรณ์ฝากได้สูงสุดกี่บาท

เงินฝากทุกประเภท ฝากสูงสุดได้บัญชีละไม่เกิน  10,000 บาท / เดือน

สมาชิกสมทบเปิดบัญชีเงินฝากสหกรณ์ฯ ได้หรือไม่

เปิดบัญชีเงินฝากสหกรณ์ได้ 2 ประเภท คือ 1.ประเภทออมทรัพย์ และ 2. ประเภทออมทรัพย์พิเศษ

ต้องการฝากเงินกับสหกรณ์โดยไม่ต้องไปติดต่อที่สหกรณ์ต้องทำอย่างไร ?

สามารถโอนเข้าบัญชีธนาคาร ชื่อบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์กรมที่ดิน ดังนี้

  1. ธนาคารกรุงไทย สาขาเมืองทองธานี เลขบัญชี  147 – 0 – 11510 – 7
  2. ธนาคารกรุงไทย สาขาศูนย์ราชการฯ  เลขบัญชี  955 – 0 – 01480 – 0
  3. ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบิ๊กซี แจ้งวัฒนะ เลขบัญชี  401 – 507295 – 7
  4. ธนาคารออมสิน สาขาศูนย์ราชการฯ เลขบัญชี  053 – 83000260 – 5

โอนแล้วแจ้งหลักฐานการโอน พร้อม ถ่ายหน้าบัญชีเงินฝากของสมาชิก ที่จะนำฝากเงินส่งทาง Line สหกรณ์

ต้องการถอนเงินฝากสหกรณ์ต้องทำอย่างไร ?

การถอนเงินฝากสหกรณ์ ต้องติดต่อที่สหกรณ์เพื่อกรอกใบถอนเงิน พร้อมบัตรประชาชนประจำตัว

  • การถอนเงิน รบกวนแจ้ง จำนวนเงิน วันที่จะเข้ามาทำธุรกรรม วิธีการรับเงิน กับทางสหกรณ์อย่างน้อยล่วงหน้า 1 วัน วีธีการรับเงินมี 2 วีธี ดังนี้
    1. รับเงินสด 
    2. รับเงินโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยของเจ้าของบัญชี
  • สหกรณ์จะโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยเท่านั้น การโอนเข้าบัญชีมีค่าธรรมเนียม 5 บาท หักจากยอดถอนเงิน
ต้องการถอนเงินฝากสหกรณ์โดยไม่ต้องไปติดต่อด้วยตนเองได้หรือไม่ ?

การถอนเงินฝากสหกรณ์ ต้องติดต่อที่สหกรณ์ด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน โดยกรอกใบถอนเงินฝาก จำนวนเงิน พร้อมลงลายมือชื่อในช่องลายมือชื่อเจ้าของบัญชี พร้อมเอกสารดังนี้

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบัญชีและผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง 
  2. สมุดบัญชีเงินฝากของสหกรณ์
  3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทยของเจ้าของบัญชี โดยสหกรณ์จะโอนเงินที่ถอนทั้งจำนวนเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทยของสมาชิกเท่านั้น

ถอนเงินสหกรณ์ ต้องติดต่อที่สหกรณ์เท่านั้นหรือพร้อมกรอกใบถอนเงินฝากที่สหกรณ์ เอกสารที่ใช้ บัตรประชาชนและสมุดบัญชีเงินฝากที่ต้องการถอนเงินฝาก

หากจะชำระหนี้สหกรณ์เพิ่มเติมจากที่ให้หักจากเงินเดือน จะต้องทำอย่างไร ?

สามารถโอนชำระหนี้บางส่วน เข้าบัญชีธนาคาร ชื่อบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์กรมที่ดิน ดังนี้

  1. ธนาคารกรุงไทย สาขาเมืองทองธานี เลขบัญชี  147 – 0 – 11510 – 7
  2. ธนาคารกรุงไทย สาขาศูนย์ราชการฯ  เลขบัญชี  955 – 0 – 01480 – 0
  3. ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบิ๊กซี แจ้งวัฒนะ เลขบัญชี  401 – 507295 – 7
  4. ธนาคารออมสิน สาขาศูนย์ราชการฯ เลขบัญชี  053 – 83000260 – 5

โอนแล้วแจ้งหลักฐานการโอนชำระ พร้อมแจ้งรายละเอียดทาง Line สหกรณ์

ปิดชำระหนี้สหกรณ์ไปแล้วทำไม บัญชีเงินได้รายเดือนยังมียอดหักสหกรณ์อยู่

เนื่องจากเป็นการชำระระหว่างเดือนทางสหกรณ์ เรียกประมวลเก็บไปช่วงต้นเดือนแล้วค่ะ 
แต่ทางสหกรณ์จะโอนคืนส่วนที่เรียกเก็บเกินให้ ประมาณวันเงินเดือนออกค่ะ

สินเชื่อ

ยื่นกู้กับสหกรณ์สามารถ ยื่นทางไหนได้บ้าง?
  1. ยื่นแบบเอกสาร
  2. กู้ประเภทฉุกเฉินสามารถส่งทาง FAX และ LINE ก่อน 10.30 น. (ส่งตัวจริงทางไปรษณีย์ทุกครั้ง)
  3. กู้ประเภทสามัญ , กู้หุ้น 90% , กู้โครงการ ส่งได้ทางไปรษณีย์และหน้าเคาเตอร์เท่านั้น
สิทธิการกู้ฉุกเฉินได้กี่เท่า ? ขั้นตอนส่งอย่างไรบ้าง?
  • สิทธิการกู้ฉุกเฉินได้ 1 เท่าของเงินเดือน
  • ระยะเวลาการส่ง 10 งวด (ส่ง 2 งวดขึ้นไปกู้หักกลบได้)
  • ใช้เอกสารคำขอกู้พิมพ์หน้าหลัง พร้อมสลิปเงินเดือนปัจจุบัน
  • ส่งเอกสารได้ทาง FAX และทาง LINE (ส่งเอกสารตัวจริงตามทุกครั้ง)
  • ส่งเอกสารก่อน 10.30 ได้รับเงินช่วงบ่าย ส่งหลัง 10.30 ได้รับเงินวันถัดไป
ดอกเบี้ยเงินกู้เท่าไหร่บ้าง?
  • สามัญ 6.3% (มีเฉลี่ยคืน)
  • กู้หุ้น 5.3% (มีเฉลี่ยคืน)
  • กู้ฉุกเฉิน 6.3% (มีเฉลี่ยคืน)
พยานในเรื่องกู้ พยานผู้กู้ระดับใดเป็นคนเซ็น ? พยานผู้ค้ำระดับใดเป็นคนเซ็น ?
  • พยานผู้กู้ ระดับใดก็ได้ที่เป็นสมาชิก (สังกัดเดียวกับผู้กู้)
  • พยานผู้ค้ำ ระดับหัวหน้าฝ่าย 1 คนหรือชำนาญการขึ้นไป และระดับใดก้ได้ที่เป็นสมาชิก 1 คน (สังกัดเดียวกับผู้ค้ำประกัน)
รอบตัดยอดเอกสารเงินกู้ ?
  • ส่งเอกสารวันที่ 1 – 10 ของเดือน (เอกสารเรียบร้อย) ได้รับเงินวันที่ 20
  • ส่งเอกสารวันที่ 11 – 20 ของเดือน (เอกสารเรียบร้อย) ได้รับเงินทุกสิ้นเดือน
  • ส่งเอกสารวันที่ 21 – สิ้นเดือน (เอกสารเรียบร้อย) ได้รับเงินวันที่ 10 เดือนถัดไป
ทุนสวัสดิการสำหรับสมาชิกสูงอายุคืออะไร

สมาชิกผู้สูงอายุ ที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป (นับอายุตามวัน เดือน ปีเกิดจากบัตรประจำตัวประชาชน) โดยสหกรณ์จะจ่ายทุนสวัสดิการ ให้แก่สมาชิกผู้สูงอายุเป็นรายปีในเดือนครบรอบวันเกิด เป็นเงิน 500 บาท ทุกปีจนกว่าจะพ้นจากสมาชิกภาพ โดยโอนเข้าบัญชีเงินบำนาญหรือบัญชีเงินฝากธนาคารของสมาชิก และสมาชิกผู้มีสิทธิรับเงินทุนสวัสดิการนี้จะต้องมีอายุการเป็นสมาชิกตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป

สิทธิการกู้เงินมีอะไรบ้าง

1.เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน
2.เงินกู้สามัญ

  • กรณีกู้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าหุ้นที่มีอยู่ในสหกรณ์
  • กรณีกู้ใช้สมาชิกค้ำประกัน (2 – 3 คน)
  • กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน

3.เงินกู้ตามโครงการ
4.เงินกู้พิเศษ

ฝ่ายทะเบียน

สมัครสมาชิกสหกรณ์ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารสมัครสมาชิกใหม่

  1. ค่าธรรมเนียมแรกเข้าคนละ 50 บาท พร้อมค่าหุ้นตามจำนวนที่ถือ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน,สำเนาบัตรประชาชน
  3. สำเนาหน้าบุ๊คแบงค์
  4. สำเนาทะเบียนบ้านบัตรประชาชน ทายาทผู้รับผลประโยชน์
  5. สำเนาทะเบียนบ้านสำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส (กรณีมีคู่สมรส)
  6. สำเนาหน้าบุ๊คแบงค์ (บัญชีเงินเดือน)
    (ถ้าเป็นการสมัครสมาชิกสมทบต้องแนบสัญญาจ้างด้วย)

** การเข้าเป็นสมาชิกและสมาชิกสมทบใหม่ ให้สมาชิกหรือสมาชิกสมทบที่ขอลาออกจากสหกรณ์ และรับเงินค่าหุ้นไปแล้วครบ 1 ปี ถึงสมัครเป็นสมาชิกและสมาชิกสมทบใหม่ได้ ซึ่งต้องยังคงรับราชการอยู่ในสังกัดกรมที่ดิน และยังไม่เกษียณอายุราชการ **

การโอนสมาชิกระหว่างสหกรณ์

สมาชิกที่ได้รับคำสั่งโอนไปรับราชการสังกัดอื่น ประสงค์จะขอโอนสภาพการเป็นสมาชิก ไปยังสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ตนย้ายไปรับราชการใหม่นั้น ต้องเสนอเรื่องราวถึงคณะกรรมการ ดำเนินการของสหกรณ์นี้ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับคำสั่งโอน

สมาชิกเสียชีวิต ต้องดำเนินการอย่างไร

ขอรับเงินสงเคราะห์ในส่วนของสหกรณ์ และเงินค่าหุ้นสหกรณ์ในส่วนของเงินสงเคราะห์ศพ  ต้องติดต่อรับภายใน 90 วัน

เอกสารที่เตรียม

ส่วนของผู้เสียชีวิต

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ประทับตราตาย)
  2. สำเนาบัตรประชาชน
  3. ใบมรณะบัตร

ส่วนของผู้รับผลประโยชน์ 

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน
  2. สำเนาบัตรประชาชน
  3. สำเนาหน้าบุ๊คแบงค์

(ในกรณี มีการเปลี่ยนชื่อ-สกุล ต้องแนบเอกสารในการเปลี่ยนชื่อสกุลด้วยและในกรณีทายาทคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต ต้องแนบเอกสารหลักฐานการเสียชีวิตด้วย ถ้าไม่ได้ระบุทายาทในพินัยกรรมตั้งผู้รับโอนประโยชน์หรือทายาทในพินัยกรรมถึงแก่กรรมทั้งหมดต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลจัดตั้งผู้จัดการมรดก ก่อน) 

เซ็นสำเนาถูกต้องทุกฉบับ ในส่วนของผู้เสียชีวิต ทายาทคนใดคนหนึ่งต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องด้วย

***** เอกสารทุกอย่างใช้ 2 ฉบับ เนื่องจาก ใช้ในส่วนของการรับเงินทุนสงเคราะห์ศพและเงินค่าหุ้นของสหกรณ์ ******

การส่งค่าหุ้นรายเดือน และการงดส่งเงินค่าหุ้นรายเดือน

การส่งค่าหุ้นรายเดือนนั้น ให้ส่งโดยวิธีหักจากเงินได้รายเดือนของสมาชิกในวันจ่ายเงินได้รายเดือนนั้น ๆ ทุกเดือน โดยกำหนดส่งค่าหุ้นรายเดือนได้ไม่เกิน 1 ใน 4 ของเงินได้รายเดือน แต่ไม่เกิน 2,000 บาท

สมาชิกจะงดส่งเงินค่าหุ้นรายเดือนสมาชิกจะต้องส่งค่าหุ้นไม่น้อยกว่า 84 เดือนและไม่มีหนี้สินกับสหกรณ์จะงดส่งเงินค่าหุ้นรายเดือน หรือลดจำนวนการถือหุ้นรายเดือนลงก็ได้โดยแจ้งความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ

หากสมาชิกและสมาชิกสมทบประสงค์จะลาออกจากสหกรณ์ต้องดำเนินการอย่างไร

สมาชิกหรือสมาชิกสมทบผู้ไม่มีภาระผูกพันต่อสหกรณ์ในฐานะผู้กู้หรือผู้ค้ำประกันอาจลาออกจากสหกรณ์ได้ โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการและเมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้พิจารณาเห็นว่าเป็นการชอบด้วยข้อบังคับและอนุญาตแล้วจึงถือว่าออกจากสหกรณ์ได้

สมาชิกของดส่งเงินต้นต้องทำอย่างไร

ในกรณีที่ผู้กู้มีคำขอผ่อนผันงดส่งเงินต้นเป็นหนังสือ และคณะกรรมการเงินกู้เห็นว่ามีเหตุอันสมควรผ่อนผันเป็นพิเศษ ให้แก่ผู้กู้คราวละหนึ่งหรือหลายเดือนก็ได้ แต่การผ่อนเวลาเช่นนี้รวมกันทั้งหมดสำหรับเงินกู้สามัญรายหนึ่งๆ ต้องไม่เกินหกเดือน โดยจำนวนงวดการชำระหนี้ยังคงเป็นไปตามสัญญาเช่นเดิม  หนึ่งสัญญาสามารถงดได้หนึ่งครั้งและต้องส่งชำระเงินกู้มาแล้วไม่น้อยกว่าหกงวด

สมาชิกสมาคม สสอ.รท. และ สส.ชสอ เสียชีวิต ต้องดำเนินการอย่างไร

สมาคม สสอ.รท.
ดาวโหลดแบบคำขอรับเงินสงเคราะห์ http://file.siam2web.com/cgse/12_download.pdf
ดาวโหลดแบบคำขอรับเงินสงเคราะห์ล่วงหน้าคงเหลือ http://file.siam2web.com/cgse/13_download.pdf

สมาคม สส.ชสอ.
ดาวโหลดแบบคำขอรับเงินสงเคราะห์ https://drive.google.com/file/d/1WHb0T3czWu7UMLJS6hqUgoX-0zi5uYhE/view
เอกสารที่ต้องแนบคำขอ  ฌาปนกิจ ทั้งสองสมาคม

ในส่วนของผู้เสียชีวิต

  1. สำเนาทะเบียนบ้านประทับตราตาย
  2. สำเนาบัตรประชาชน
  3. สำเนาใบมรณะบัตร
  4. หนังสือรับรองการเสียชีวิต ( กรณีเสียชีวิตที่โรงพยาบาลต้องมีใบรับรองจากโรงพยาบาล
    หรือถ้าเสียชีวิตที่บ้านต้องมีใบรับรองจากสถานีตำรวจหรือกำนันผู้ใหญ่บ้าน)

ในส่วนของผู้รับผลประโยชน์

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน
  2. สำเนาบัตรประชาชน
  3. สำเนาหน้าบุ๊คแบงค์

หมายเหตุ   ต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องมาทุกฉบับ ในส่วนของผู้เสียชีวิตผู้รับผลประโยชน์ต้องเป็นคนรับรองสำเนาถูกต้อง
เอกสาร  จะใช้ สมาคมละ 1 ชุด  ถ้าทำฌาปนกิจ  ทั้ง 2 สมาคม  เอกสารต้องต้องแนบมา  2 ชุด
ทายาททุกคนต้องเซ็นมาในใบคำขอรับเงินสงเคราะห์ และใบคำขอรับเงินสงเคราะห์ล่วงหน้าคงเหลือ

การตั้งผู้รับโอนประโยชน์

การตั้งผู้รับโอนประโยชน์ของสมาชิกและสมาชิกสมทบต้องทำเป็นหนังสือตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคน เพื่อให้เป็นผู้รับโอนประโยชน์ซึ่งตนมีอยู่ในสหกรณ์ในเมื่อตนตายนั้น ถ้าสมาชิกหรือสมาชิกสมทบประสงค์จะเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ที่ทำไว้แล้วก็ต้องทำเป็นหนังสือเปลี่ยนใหม่ส่งมาที่สหกรณ์  เมื่อสมาชิกหรือสมาชิกสมทบตาย สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้น เงินรับฝาก เงินปันผลเงินเฉลี่ยคืนและเงินผลประโยชน์ หรือเงินอื่นใดบรรดาที่สมาชิกนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้แก่ผู้รับโอนประโยชน์ที่ได้ตั้งไว้ โดยให้ได้รับส่วนแบ่งเท่าๆ กัน หากสมาชิกมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (หากทายาทในพินัยกรรมถึงแก่กรรมทั้งหมดต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลจัดตั้งผู้จัดการมรดกก่อน)

สมาชิกสามารถส่งค่าหุ้นได้เท่าไร
  1. เงินได้รายเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ส่งค่าหุ้นขั้นต่ำ 500 บาท
  2. เงินได้รายเดือนเกินกว่า 10,000 บาท ถึง 15,000 บาท ส่งค่าหุ้นขั้นต่ำ 600 บาท
  3. เงินได้รายเดือนเกินกว่า 15,000 บาท ถึง 20,000 บาท ส่งค่าหุ้นขั้นต่ำ 700 บาท
  4. เงินได้รายเดือนเกินกว่า 20,000 บาท ถึง 25,000 บาท ส่งค่าหุ้นขั้นต่ำ 800 บาท
  5. เงินได้รายเดือนเกินกว่า 25,000 บาท ถึง 30,000 บาท ส่งค่าหุ้นขั้นต่ำ 900 บาท
  6. เงินได้รายเดือนเกินกว่า 30,000 บาท ขึ้นไป ส่งค่าหุ้นขั้นต่ำ 1,000 บาท

สมาชิกสามารถส่งได้สูงสุดไม่เกิน 1 ใน 4 ของเงินเดือนได้รายเดือน ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศของสหกรณ์

ฝ่ายอำนวยการ

สิทธิประโยชน์สวัสดิการของสมาชิกและสมาชิกสมทบมีอะไรบ้าง
  1. ทุนส่งเสริมการศึกษาบุตรสมาชิกและสมาชิก
  2. ทุนช่วยเหลือสมาชิกผู้ประสบภัย
  3. ทุนสงเคราะห์ศพของสมาชิก สมาชิกสมทบ และครอบครัว
  4. ทุนสวัสดิการสำหรับสมาชิกผู้สูงอายุ
ใบเสร็จรับเงินของสหกรณ์ เรียกดูจากที่ไหนได้บ้าง
  1. ระบบบริการสมาชิก เข้าใช้งานที่หน้าแรกของเว็บไซต์ของสหกรณ์
  2. แอปพลิเคชัน DOL Saving (รองรับ Android/IOS/Huawei)
เข้าแอพพลิเคชั่นไม่ได้ทำยังไง ?

เจ้าหน้าที่จะรีเซ็ตรหัสผ่านให้ โดยสมาชิกติดต่อมาที่ช่องทาง
Line Official ID : @landscoop หรือ โทร 02-1942377-79 ต่อ 307